ไข้เลือดออก

กรมควบคุมโรค ร่วม ท้องถิ่น ผนึกเครือข่ายหยุดภัย “ไข้เลือดออก”

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดกิจกรรมพัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสาธารณสุข ด้านการป้องกันควบคุมโรค ไข้เลือดออก ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี

พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี โดยมี นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น น.ส.พัชร์ชิสา พชิระธารีรัตน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (รองนายก อบจ.) ปทุมธานี และคณะผู้บริหารกรมควบคุมโรค เข้าร่วม โดยนพ.ธเรศ ได้กล่าวว่า จากกรณีที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2566 ประเทศไทยจะพบการระบาดของโรค ไข้เลือดออก มากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด

โดยในปีนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 7 มิถุนายน 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 19,503 ราย เสียชีวิตแล้ว 17 ราย และจำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่า ปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3.8 เท่า กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงที่สุด ได้แก่ อายุ 5-14 ปี รองลงมา 15-24 ปี

จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงที่สุดใน 4 สัปดาห์ล่าสุด คือ จ.ตราด (เกาะช้าง บ่อไร่ แหลมงอบ คลองใหญ่) จ.น่าน (สองแคว ทุ่งช้าง เชียงกลาง) จ.จันทบุรี (เมือง ท่าใหม่ มะขาม) จ.แม่ฮ่องสอน (ขุนยวม แม่ลาน้อย) และ จ.สตูล (เมือง) ตามลำดับ รวมการระบาดใน 348 อำเภอ 71 จังหวัด ซึ่งประเมินความเสี่ยงพบมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกภาค ส่วนปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยที่เสียชีวิตคือไปรักษาที่โรงพยาบาลช้าเกินไป มีภาวะอ้วน ได้รับยากลุ่ม NSAIDs มาก่อน และมีโรคประจำตัว

“กรมควบคุมโรค จึงร่วมกับ จ.ปทุมธานี และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สบส. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปทุมธานี และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จัดให้มีการรณรงค์ “บ้าน วัด โรงเรียน” พร้อมใจ หยุดภัยไข้เลือดออก สืบเนื่องจากมีการสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยใช้แอพพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ สำรวจใน 7 สถานที่เสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก พบลูกน้ำยุงลายที่วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ มีค่าดัชนีความหนาแน่นสูงสุด จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ถูกต้อง เช่น วัด เป็นแหล่งที่ผู้คนเข้า-ออกทำบุญอย่างต่อเนื่อง โดยพระสงฆ์ไม่สามารถกำจัดลูกน้ำและยุงลายได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่า เข้าวัดอย่าสร้างขยะ เช่น แก้วพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร ที่อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ รวมทั้งควรมีจิตอาสาที่จะช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมภายในวัดไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ส่วนโรงเรียนต้องมีมาตรการเข้มข้นในการฝึกทักษะนักเรียนให้สามารถจัดการกับปัญหายุงลายได้ เช่น จัดเวรดูแลอ่างบัว แจกันพลูด่าง ปล่อยปลาหางนกยูงเพื่อกินลูกน้ำ เป็นต้น และต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ยุงกัดนักเรียน”นพ.ธเรศ กล่าว

ไข้เลือดออก

ทั้งนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขอให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุงหรือนอนในมุ้ง

และหากประชาชนมีอาการไข้สูงลอย ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา หรือมีจุดเลือดออกที่ลำตัว และแขน ขา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโครฟีแนก แอสไพริน รวมถึงยาชุด ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกในช่องทางเดินอาหารและยากต่อการรักษา เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

โดยหากมีไข้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคให้ชัดเจน เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป และช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ด้านนพ.สุระ กล่าวว่า งานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกถือเป็นงานสำคัญในบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่มีอยู่กว่าล้านคนทั่วประเทศ และ สบส.เป็นกรมที่กำกับดูแลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เหล่านี้ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา ผลงานดังกล่าวมีคุณภาพเป็นที่ประจักษ์ต่อคนไทย และนานาชาติให้การชื่นชมเป็นอย่างมาก อสม. มีหน้าที่ดูแลสำรวจลูกน้ำยุงลายร่วมกับเจ้าของบ้านในกลุ่มบ้านที่รับผิดชอบ รวมทั้งร่วมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคต่างๆ หลากหลายกิจกรรมเป็นที่น่าชื่นชม ถือเป็นงานจิตอาสาอีกทางหนึ่งด้วย

นายศิริพันธ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มองเห็นปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก และได้กำกับดูแลบุคลากรในด้านต่างๆ ของท้องถิ่นทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งทำงานใกล้ชิดประชาชน ช่วยส่งเสริมการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขแก่ท้องถิ่นได้ โดยเร่งประสานงานกับ อสม. ขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับประชาชน เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างจริงจัง

ด้าน น.ส.พัชร์ชิสา กล่าวว่า ภารกิจด้านสุขภาพ เช่น การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกถือเป็นงานสำคัญของ อบจ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของจังหวัด อบจ. ปทุมธานี มีหน้าที่กำกับดูแลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) โดยตรง ทั้งที่โอนย้ายมาแล้วและในส่วนที่กำลังดำเนินการ รพ.สต. เป็นที่พึ่งของประชาชนในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และการควบคุมโรคหากเกิดเจ็บป่วย จะได้เร่งรัดงานสำคัญนี้ต่อไป

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ earlslawncare.com

แทงบอล

Releated